วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557
Mobile Energy
Mobile Energy : นวัตกรรมกังหันลมแสงอาทิตย์แบบพกพาได้
"Mobile Energy" เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมลูกผสมพลังงานลมและแสงอาทิตย์ ที่ "Cheng Peng" นักออกแบบชาวจีนได้พัฒนาให้สามารถพับและกางออกเพื่อการพกพาได้ โดยมีความยาวเพียงครึ่งเมตร ให้พลังงานที่เพียงพอสำหรับหลอดไฟ โทรศัพท์เคลื่อนที่หรืออุปกรณ์จีพีเอสได้
โดยอุปกรณ์นั้นเหมาะสำหรับนักเดินทางที่ต้องการพกพาพลังงานที่สะดวก สามารถพับได้ใส่กระเป๋าหรือยึดติดกับตัวจักรยาน ให้พลังงานที่เพียงพอสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้ หรือสำหรับการใช้ในถิ่นทุรกันดารที่ไฟฟ้านั้นเข้าไม่ถึง โดยพลังงานลูกผสมนี้จะมีการทำงานในสองส่วนด้วยกัน ได้แก่ส่วนของการผลิตพลังงานและส่วนของการกักเก็บพลังงาน โดยส่วนของการผลิตได้ทั้งจากการหมุนและการรับแสงอาทิตย์นั่นเอง
นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 14
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -
Nanoflowers
Nanoflowers : เซลล์แสงอาทิตย์รุ่นถัดไป
"Nanoflowers" ที่พัฒนาโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยรัฐนอร์ทแคโรไลนานี้ จะให้ประสิทธิภาพความหนาแน่นในการจัดเก็บสูง มีลักษณะกลีบดอกคล้ายกับเจอเรเนียมหรือดอกดาวเรือง และถึงแม้ว่าจะมีความหนาเพียง 20-30 นาโนเมตร แต่กลีบดอกไม้นั้นมีกำลังความสามารถในการจัดเก็บพลังงานมากกว่าเซลล์แสงอาทิตย์จัดเก็บพลังงานแบบดั้งเดิม
ทางมหาวิทยาลัยรัฐนอร์ทแคโรไลนาได้สร้าง “GES Nanoflowers" ดังกล่าว โดยการให้ความร้อนแก่ผงซัลไฟด์เจอร์เมเนียมในเตาเผาจนกลายเป็นไอ เมื่ออนุภาคอากาศถูกเป่าเข้าไปในส่วนระบายความร้อนของเตาเผา ก็จะเกิดการเซ็ทตัวลงบนชั้นแผ่นที่มีความหนาประมาณ 20-30 นาโนเมตรและมีความยาว 100 นาโนเมตร เมื่อมีการเพิ่มชั้นขึ้นมาเรื่อยๆ ก็จะเกิดเป็นโครงสร้างผลิบานออกจากกันเหมือนลักษณะกลีบดอกไม้
ทั้งนี้ GES นั้นมีราคาไม่แพงอีกทั้งไม่เป็นพิษ ทำให้สามารถเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับใช้ในเซลล์แสงอาทิตย์ได้ นอกจากนั้นยังเป็นวัสดุที่มีประสิทธิภาพสำหรับการดักจับแสงและแปลงเป็นพลังงาน GES ยังอาจสามารถขยายความจุของแบตเตอรี่ลิเธียม ไอออน และให้การจัดเก็บข้อมูลที่เพิ่มขึ้นสำหรับซุปเปอร์คาปาซิเตอร์อีกด้วย
นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 13
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -
Dynamic Luminous Ceiling Sky
"Dynamic Luminous Ceiling Sky" คือเพดานที่เป็นจอแอลซีดี โดยจำลองภาพท้องฟ้าเสมือนจริงที่จะเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ เหมาะสำหรับที่อยู่อาศัยทุกประเภท แนะนำให้ติดเพดานชนิดนี้ให้แก่พนักงานออฟฟิศ เพิ่มความรื่นรมย์ในการทำงาน และยังเป็นการหลอกพนักงานให้เข้าใจว่ายังเป็นตอนกลางวันอยู่อีกด้วยนะ ^^
นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 12
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -
Anti theft chair
"Anti theft chair" เป็นเก้าอี้ที่มีที่แขวนกระเป๋าได้ เพื่อความสะดวก และเพื่อความปลอดภัยจากพวกมือไวคว้ากระเป๋าของคุณติดมือไป ป้องกันขโมยได้ดีมากเลยล่ะ
นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 11
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -
Puri
Puri : นวัตกรรมขวดกรองน้ำทะเล
Younsun Kim, Kangkyung Lee, Byungsoo Kim และ Minji Kim สามนักออกแบบชาวเกาหลีได้ออกแบบขวดน้ำ ที่สามารถกรองน้ำทะเลให้เป็นน้ำดื่มได้ โดยขวดนั้นมีขนาดเหมือนขวดน้ำทั่วไป แต่ด้วยระบบนวัตกรรมภายในที่ใช้เทคโนโลยี รีเวอร์ส ออสโมซิส ในการดึงเกลืออกจากน้ำ ก่อนเข้าไปในตัวกรองของสีเหลือง เหลือเพียงน้ำที่ปลอดภัยสำหรับดื่ม และด้วยประสิทธิภาพการกรองน้ำทะเลนี้ ทำให้อุปกรณ์นั้นเหมาะสำหรับการกู้ภัยทางทะเล นักเดินทางไกล หรือชาวประมงที่ต้องออกเรือเพื่อการจับสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอุปกรณ์ที่สะดวกสำหรับการพกพา โดยการออกแบบนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานประกวดรางวัลไอเดียดีไซน์
นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 10
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -
จมูกนาโน
วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง จับมือมหาวิทยาลัยญี่ปุ่น ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนาโนพัฒนาจมูกจิ๋วตรวจวัดคุณภาพอากาศ เน้นประสิทธิภาพสูง ตรวจจับก๊าซเป้าหมายพบแม้ปนเปื้อนปริมาณเล็กน้อย หวังเป็นอุปกรณ์ทางเลือกในการบริหารจัดการสภาพอากาศในอนาคต
ดร.วินัดดา วงศ์วิริยะพันธ์ วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) อยู่ระหว่างวิจัยพัฒนา "ก๊าซเซ็นเซอร์" อุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพอากาศโดยประยุกต์ใช้คาร์บอนนาโนทิวบ์ เพื่อให้ได้อุปกรณ์ขนาดกะทัดรัด ประสิทธิภาพสูง มีความไวต่อก๊าซแม้มีปริมาณน้อย รวมถึงตอบสนองต่อก๊าซอย่างรวดเร็วในอุณหภูมิห้อง สำหรับเป็นผู้ช่วยเฝ้าระวังมลภาวะทางอากาศในอนาคต
โครงการวิจัยพัฒนาก๊าซเซ็นเซอร์คาร์บอนนาโนทิวบ์ผนังเดี่ยว เริ่มขึ้นเมื่อปี 2548 จนถึงปัจจุบัน เป็นการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซากา กับบริษัท ชิน คอส มอส จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเทคโนโลยีก๊าซเซ็นเซอร์ในญี่ปุ่น ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นผ่านมหาวิทยาลัยโอซากา
ทีมวิจัยได้ผสมผสานนาโนเทคโนโลยีกับเทคโนโลยีก๊าซเซ็นเซอร์ในปัจจุบัน เริ่มจากการสังเคราะห์คาร์บอนนาโนทิวบ์ ให้มีลักษณะการเรียงตัวลักษณะแนวนอน และความหนาแน่นตามที่ต้องการใช้งาน ลงบนแผ่นอะลูมินา ซึ่งใช้สำหรับก๊าซเซ็นเซอร์ทั่วไป คาร์บอนนาโนทิวบ์จะเพิ่มคุณสมบัติให้เซ็นเซอร์มีพื้นที่ผิวสัมผัสก๊าซมากขึ้น
จมูกจิ๋วตรวจอากาศดังกล่าว ทำงานโดยการตรวจจับก๊าซ และแปลงเป็นค่านำไฟฟ้าแสดงผลบนหน้าจอ บอกให้ผู้ดูแลระบบทราบถึงสภาพอากาศในพื้นที่เป้าหมายการตรวจ เช่น ฟาร์มปศุสัตว์ แยกไฟแดง โรงงานสารเคมี ว่ามีก๊าซไม่พึงประสงค์ เช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์ คลอรีน โอโซน ปนเปื้อนในอากาศเกินปริมาณที่กำหนดไว้หรือไม่ หรือเพื่อประโยชน์ในการดูแลบริหารจัดการมลภาวะทางอากาศที่เหมาะสม
ก๊าซเซ็นเซอร์หรือจมูกจิ๋วดูแลมลภาวะทางอากาศที่พัฒนาได้ จากการทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้นพบ สามารถตรวจวัดก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ได้จริงใกล้เคียงอุปกรณ์วัดมาตรฐานที่ใช้งานอยู่ ทั้งยังแจ้งเตือนเป็นสัญญาณเสียงได้ด้วย โดยสามารถตรวจวัดที่ระดับพีพีบี หรือ 1 ในพันล้านส่วน ในเวลาไม่ถึง 1 นาที ทั้งนี้ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์เป็นก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่เกิดในโรงงานอุตสาหกรรม หรือท่อไอเสียรถยนต์ แม้กระทั่งการปรุงอาหารในครัว หากมีปริมาณมากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยย้ำว่าการพัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจวัดก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ที่มีความแม่นยำ จำเป็นต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบและวิจัย เพื่อให้ผลการตรวจวัดมีความแม่นยำ 100% แต่อุปสรรคที่พบในการวิจัย คือ ขาดเครื่องมือวิเคราะห์อุปกรณ์ที่พัฒนา ว่า คุณภาพเพียงพอที่จะนำไปใช้งานหรือไม่
ทีมงานจึงแก้ปัญหาโดยการพึ่งพาศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ สังกัดศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) ตลอดจนส่งไปวิเคราะห์ที่ญี่ปุ่นโดยตรง ทำให้ต้องใช้เวลารอผลนาน
"สิ่งที่ต้องเก็บข้อมูลเพิ่มอีกอย่าง คือ อายุการใช้งานของอุปกรณ์ว่าอยู่ได้นานแค่ไหน ก็ได้เก็บข้อมูลมาแล้วกว่าครึ่งปี พบยังอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน" นักวิจัยกล่าว
ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/general_knowledge/460/ ค่ะ :)
นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 9
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -
ดร.วินัดดา วงศ์วิริยะพันธ์ วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) อยู่ระหว่างวิจัยพัฒนา "ก๊าซเซ็นเซอร์" อุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพอากาศโดยประยุกต์ใช้คาร์บอนนาโนทิวบ์ เพื่อให้ได้อุปกรณ์ขนาดกะทัดรัด ประสิทธิภาพสูง มีความไวต่อก๊าซแม้มีปริมาณน้อย รวมถึงตอบสนองต่อก๊าซอย่างรวดเร็วในอุณหภูมิห้อง สำหรับเป็นผู้ช่วยเฝ้าระวังมลภาวะทางอากาศในอนาคต
โครงการวิจัยพัฒนาก๊าซเซ็นเซอร์คาร์บอนนาโนทิวบ์ผนังเดี่ยว เริ่มขึ้นเมื่อปี 2548 จนถึงปัจจุบัน เป็นการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซากา กับบริษัท ชิน คอส มอส จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเทคโนโลยีก๊าซเซ็นเซอร์ในญี่ปุ่น ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นผ่านมหาวิทยาลัยโอซากา
ทีมวิจัยได้ผสมผสานนาโนเทคโนโลยีกับเทคโนโลยีก๊าซเซ็นเซอร์ในปัจจุบัน เริ่มจากการสังเคราะห์คาร์บอนนาโนทิวบ์ ให้มีลักษณะการเรียงตัวลักษณะแนวนอน และความหนาแน่นตามที่ต้องการใช้งาน ลงบนแผ่นอะลูมินา ซึ่งใช้สำหรับก๊าซเซ็นเซอร์ทั่วไป คาร์บอนนาโนทิวบ์จะเพิ่มคุณสมบัติให้เซ็นเซอร์มีพื้นที่ผิวสัมผัสก๊าซมากขึ้น
จมูกจิ๋วตรวจอากาศดังกล่าว ทำงานโดยการตรวจจับก๊าซ และแปลงเป็นค่านำไฟฟ้าแสดงผลบนหน้าจอ บอกให้ผู้ดูแลระบบทราบถึงสภาพอากาศในพื้นที่เป้าหมายการตรวจ เช่น ฟาร์มปศุสัตว์ แยกไฟแดง โรงงานสารเคมี ว่ามีก๊าซไม่พึงประสงค์ เช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์ คลอรีน โอโซน ปนเปื้อนในอากาศเกินปริมาณที่กำหนดไว้หรือไม่ หรือเพื่อประโยชน์ในการดูแลบริหารจัดการมลภาวะทางอากาศที่เหมาะสม
ก๊าซเซ็นเซอร์หรือจมูกจิ๋วดูแลมลภาวะทางอากาศที่พัฒนาได้ จากการทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้นพบ สามารถตรวจวัดก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ได้จริงใกล้เคียงอุปกรณ์วัดมาตรฐานที่ใช้งานอยู่ ทั้งยังแจ้งเตือนเป็นสัญญาณเสียงได้ด้วย โดยสามารถตรวจวัดที่ระดับพีพีบี หรือ 1 ในพันล้านส่วน ในเวลาไม่ถึง 1 นาที ทั้งนี้ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์เป็นก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่เกิดในโรงงานอุตสาหกรรม หรือท่อไอเสียรถยนต์ แม้กระทั่งการปรุงอาหารในครัว หากมีปริมาณมากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยย้ำว่าการพัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจวัดก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ที่มีความแม่นยำ จำเป็นต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบและวิจัย เพื่อให้ผลการตรวจวัดมีความแม่นยำ 100% แต่อุปสรรคที่พบในการวิจัย คือ ขาดเครื่องมือวิเคราะห์อุปกรณ์ที่พัฒนา ว่า คุณภาพเพียงพอที่จะนำไปใช้งานหรือไม่
ทีมงานจึงแก้ปัญหาโดยการพึ่งพาศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ สังกัดศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) ตลอดจนส่งไปวิเคราะห์ที่ญี่ปุ่นโดยตรง ทำให้ต้องใช้เวลารอผลนาน
"สิ่งที่ต้องเก็บข้อมูลเพิ่มอีกอย่าง คือ อายุการใช้งานของอุปกรณ์ว่าอยู่ได้นานแค่ไหน ก็ได้เก็บข้อมูลมาแล้วกว่าครึ่งปี พบยังอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน" นักวิจัยกล่าว
ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/general_knowledge/460/ ค่ะ :)
นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 9
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -
ตุ๊กตาฟอกอากาศ
นอกจากคุณสมบัติประดับตกแต่ง กอดเล่นมันมือแล้ว เจ้าตุ๊กตายังช่วยฟอกอากาศและลดฝุ่นละอองอีกด้วย เหมาะต่อผู้ที่เป็นภูมิแพ้ (แบบเจ้าของกระทู้) หรือเจ้าตัวเล็กในบ้านด้วยน๊าา โดยกลไกการทำงานของมันก็คือ เมื่อมีแสงมากระตุ้น อนุภาคไทเทเนียมไดออกไซด์ที่อยู่บนวัตถุก็จะทำลายสารระเหยที่เป็นพิษให้แตกตัวเป็นคาร์บอนไดออกไซด์หรือสารอื่นที่มีอันตรายน้อยกว่าได้ กลิ่นไม่พึงประสงค์บางกลิ่นก็จะหมดไป หรือทำให้ฝุ่นละอองมีขนาดเล็กลงจนไม่เป็นอันตราย ดีต่อสุขภาพมากๆ เลยล่ะ
นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 8
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -
เต้าเสียบปลั๊กอัจฉริยะ
เต้าเสียบปลั๊กอัจฉริยะ UFO Power Center เปิดตัวครั้งแรกราวกลางปี 2010 สามารถใช้ได้ทั้งในบ้านและที่ทำงาน มีเต้าเสียบถึง 4 ด้าน และนอกจากจะเป็นเต้าเสียบแล้ว มันยังมีกลไกที่สามารถแสดงข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของเครื่องใช้ที่คุณเสียบอยู่ ว่ากินไฟไปแล้วเท่าไรได้อีกด้วย แสดงผลทุกๆ 5 นาที และเก็บข้อมูลได้เป็นระยะเวลาถึง 2 เดือน ในตัวเครื่องจะมีหลอดไฟ LED แสดงสถานการณ์ใช้งานจะเปลี่ยนสีจาก เขียว เหลือง และแดงในที่สุด สามารถควบคุมการทำงานได้จากระยะไกล ทำได้ด้วยตัวคุณเองแบบง่ายๆ โดยสามารถเชคการแสดงผลบนแอพพลิเคชั่นบน iPhone หรือ PC จะเป็นรูปหน้าปัด และยังสามารถตั้งเวลาให้มันตัดไฟเมื่อไม่ใช้งานได้อีก
เต้าเสียบอัจฉริยะ UFO เปิดตัวครั้งแรกมี 2 รุ่น ชนิดแรก ตามมาตรฐานอเมริกาเหนือ สำหรับไฟ 110-120 โวลท์ ที่ความถี่ 60 เฮิร์ทซ์, กับปลั๊กชนิด B (NENA 5-15) และชนิดที่สองตามมาตรฐานอิตาลี สำหรับไฟ 250 โวลท์ ที่ความถี่ 50 เฮิร์ทซ์ กับปลั๊กชนิด L (CEI 23-16/VII) ซึ่งสามารถเข้ากันได้กับปลั๊กชนิด C (Europlug 2.5 A/250 V unearthed - CEE 7/16)
นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 7
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -
Air HES
"Air HES" เป็นนวัตกรรมเพื่อการผลิตน้ำและไฟฟ้าจากก้อนเมฆ ที่ให้ประสิทธิภาพมากกว่าโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำถึง 200 เท่า
นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียได้คิดค้นอุปกรณ์เพื่อแก้ไขพลังงานน้ำและไฟฟ้า ด้วยนวัตกรรมเรือเหาะโยงใยเพื่อการเก็บเกี่ยวน้ำจากก้อนเมฆมาผลิตเป็นไฟฟ้า โดย “Andrew Kazantsev” และทีมงานเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ได้คิดค้นอุปกรณ์ที่เรียกว่า “Air HES” (Hydro Electric Station) หรือสถานีผลิตไฟฟ้าจากน้ำในอากาศ ที่มีลักษณะเป็นเรือเหาะโยงใยกับพื้นดิน ซึ่งจะคอยเก็บเกี่ยวน้ำจากก้อนเมฆด้วยตาข่ายแนวตั้งในอากาศ ก่อนส่งน้ำที่รวบรวมได้นั้นผ่านท่อส่งจ่ายไปยังเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเทอร์โบเพื่อผลิตน้ำและไฟฟ้า โดยที่อุปกรณ์ต้นแบบนั้นสามารถเก็บเกี่ยวน้ำได้ประมาณ 5 ลิตร จากเมฆระดับต่ำในเวลาหนึ่งชั่วโมง และอุปกรณ์ตัวนี้จะให้ประโยชน์มากกว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานน้ำทั่วไปตรงที่ไม่ต้องก่อสร้างเขื่อนให้สิ้นเปลืองงบประมาณและไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งสามารถติดตั้งยังพื้นที่ห่างไกลที่ขาดแคลนน้ำและไฟฟ้าโดยไม่ต้องคำนึงถึงลักษณะภูมิประเทศ ซึ่งทางทีมงานคาดการณ์ว่าสถานีผลิตพลังงานจากแม่น้ำนั้นให้ประสิทธิภาพน้อยกว่าการผลิตจากเมฆถึง 200 เท่า
ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=14&cno=6191 ค่ะ :)
นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 6
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -
Betaray
Betaray : นวัตกรรมลูกแก้วมหัศจรรย์ เก็บเกี่ยวแสงจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และเมฆได้
“Betaray” เป็นนวัตกรรมพลังงานจากบริษัทผู้ผลิต “Rawlemon” ถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นลูกแก้วทรงกลมโปร่งใส เชื่อมต่อกับโครงเหล็กเพื่อการติดตามแสง ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวพลังงานได้ทั้งจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ให้ประสิทธิภาพมากกว่าแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบมีแกนติดตามถึงร้อยละ 35
โดยนวัตกรรมชิ้นนี้นั้นสามารถเปลี่ยนแสงแดดไปเป็นได้ทั้งไฟฟ้าและพลังงานความร้อน ซึ่งผลงานสิ่งประดิษฐ์ได้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในงานประกวดเทคโนโลยีโลก ทำให้บริษัทผู้ผลิตมีแรงจูงใจในการพัฒนารุ่นต่อมาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ซึ่งรุ่นต่อมาได้ถูกออกแบบให้สามารถมุ่งเน้นไปที่การกระจายแสงและสร้างลำแสงจากพลังงานจากดวงอาทิตย์ได้ ไม่เพียงแค่นั้น นวัตกรรมชิ้นนี้ยังสามารถเก็บเกี่ยวพลังงานได้จากดวงจันทร์รวมไปถึงเมฆที่เป็นสีเทา ในขณะที่การแปลงพลังงานของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วไปต้องใช้แสงมากกว่าถึง 4 เท่าก่อนที่จะผลิตพลังงานออกมา
ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=14&cno=6218 ค่ะ :)
นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 5
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -
ต้นไม้ดับกระหาย
"ต้นไม้ดับกระหาย" ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานในพื้นที่ทะเลทรายในเขตร้อนของแอฟริกาและอเมริกาที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันมากระหว่างกลางวันและกลางคืน
ต้นไม้แห่งความหวังนี้เป็นอุปกรณ์ที่มีรูปทรงต้นไม้ขนาดใหญ่ที่สามารถดูดซับความชื้นจากอากาศในการจัดหาน้ำดื่ม การออกแบบพื้นผิวที่พับและขยายตัวของหลังคา นำอนุภาคของน้ำสู่ส่วนกลางของลำต้นที่มีการกรอง จากนั้นน้ำดื่มจะถูกเก็บรวบรวมไว้ที่ฐานที่สามารถเปิดรองน้ำได้ เป็นนวัตกรรมที่ช่วยให้คนที่อยู่ในพื้นที่ทะเลทรายในเขตร้อนได้มีน้ำดื่มกันมากขึ้นนั่นเอง
ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=14&cno=5479 ค่ะ :)
นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 4
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -
Scribble Pen
Scribble Pen : ปากกาเขียนได้ 16 ล้านสีในด้ามเดียว
"สคริบเบิล" คือปากกาแห่งนวัตกรรมที่สามารถสแกนสีจากวัตถุใดก็ได้และนำมาเขียนด้วยสีเดียวกัน สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้เป็นผลงานของมาร์ก บาร์กเกอร์และโรเบิร์ต ฮอฟฟ์แมน ทั้งคู่กล่าวว่าปากกาแท่งนี้จะเก็บข้อมูลสีได้มากกว่า 100,000 สีไว้ในหน่วยความจำภายในและสร้างโทนสีใหม่ได้มากกว่า 16 ล้านสีเลยทีเดียว
ปากกาสคริบเบิลเหมาะสำหรับผู้ที่ตาบอดสี เด็กๆ นักตกแต่งภายใน ศิลปิน ช่างภาพ และอีกหลากหลายอาชีพได้อย่างเหลือเชื่อ เมื่อมีปากกาแท่งนี้คุณจะวาดรูปลงบนกระดาษหรือบนอุปกรณ์สื่อสารของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นไอโฟน ไอแพด หรือแอนดรอยด์ก็ได้ นอกจากนี้มันยังเก็บและส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์เสริมผ่านทางบลูทูธ ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกสีในการวาดรูปบนสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์แท๊ปเล็ตได้อีกด้วย
การเก็บข้อมูลสีก็ทำได้รวดเร็วและไม่ยาก เพียงจับตัวสแกนของปากกาสคริบเบิลแตะลงบนสีใดก็ได้ เช่น บนกำแพง ผลไม้ นิตยสาร สีทาบ้าน หรือแม้แต่ของเล่นเด็ก เพียงเท่านี้ข้อมูลสีเหล่านั้นก็จะถูกเก็บเข้าไปไว้ที่หน่วยความจำภายใน
ผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้ใช้เวลาในการออกแบบราว 2 ปี โดยมีการปรับเปลี่ยนมาหลายรูปทรงจนมีขนาดเล็ก กระทัดรัด สะดวกต่อการพกพาอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ขณะที่คุณสมบัติของมันมีมากมายมหาศาล ตั้งแต่ตัวเซ็นเซอร์สี หน่วยความจำภายในขนาด 1 GB แบตเตอรี่แบบชาร์จ บลูทูธ 4.0 ไมโครโปรเซสเซอร์และตลับหมึก 5 ตลับ
ปากกาสคริบเบิลสามารถระดมทุนได้ถึง 100,000 เหรียญสหรัฐ ภายในเวลาเพียง 5 ชั่วโมงและมากกว่าที่ตั้งเป้าไว้ถึง 3 เท่าเลยทีเดียว
นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 3
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -
Todo Math App
"Todo Math App" เป็นแอพพลิเคชันสำหรับเด็ก ซึ่งจะใช้ในการเรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างง่าย โดยแอพพลิเคชันนี้จะทำเป็นเกมหลายๆ รูปแบบ เพื่อให้เด็กสนใจ ถ้ากำลังมองหาเกมสำหรับเด็ก ที่ทั้งสนุกและได้ฝึกคิดคำนวณเลขไปในตัว ต้องแอพพลิเคชันนี้เลย "Todo Math App" ค่ะ :)
นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 2
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -
Free Cutter
Free Cutter : กรรไกรที่ผนวกเข้ากับมีดคัตเตอร์
ใช้งานง่ายและสะดวกสบายมากเลย ไม่ว่าจะงานตัด งานกรีด ก็สามารถทำได้ในอุปกรณ์เพียงชิ้นเดียวเท่านั้นค่ะ :)
นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 1
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)