วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Mobile Energy



Mobile Energy : นวัตกรรมกังหันลมแสงอาทิตย์แบบพกพาได้

"Mobile Energy" เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมลูกผสมพลังงานลมและแสงอาทิตย์ ที่ "Cheng Peng" นักออกแบบชาวจีนได้พัฒนาให้สามารถพับและกางออกเพื่อการพกพาได้ โดยมีความยาวเพียงครึ่งเมตร ให้พลังงานที่เพียงพอสำหรับหลอดไฟ โทรศัพท์เคลื่อนที่หรืออุปกรณ์จีพีเอสได้

โดยอุปกรณ์นั้นเหมาะสำหรับนักเดินทางที่ต้องการพกพาพลังงานที่สะดวก สามารถพับได้ใส่กระเป๋าหรือยึดติดกับตัวจักรยาน ให้พลังงานที่เพียงพอสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้ หรือสำหรับการใช้ในถิ่นทุรกันดารที่ไฟฟ้านั้นเข้าไม่ถึง โดยพลังงานลูกผสมนี้จะมีการทำงานในสองส่วนด้วยกัน ได้แก่ส่วนของการผลิตพลังงานและส่วนของการกักเก็บพลังงาน โดยส่วนของการผลิตได้ทั้งจากการหมุนและการรับแสงอาทิตย์นั่นเอง



นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 14
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -

Nanoflowers



Nanoflowers : เซลล์แสงอาทิตย์รุ่นถัดไป

"Nanoflowers" ที่พัฒนาโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยรัฐนอร์ทแคโรไลนานี้ จะให้ประสิทธิภาพความหนาแน่นในการจัดเก็บสูง มีลักษณะกลีบดอกคล้ายกับเจอเรเนียมหรือดอกดาวเรือง และถึงแม้ว่าจะมีความหนาเพียง 20-30 นาโนเมตร แต่กลีบดอกไม้นั้นมีกำลังความสามารถในการจัดเก็บพลังงานมากกว่าเซลล์แสงอาทิตย์จัดเก็บพลังงานแบบดั้งเดิม

ทางมหาวิทยาลัยรัฐนอร์ทแคโรไลนาได้สร้าง “GES Nanoflowers" ดังกล่าว โดยการให้ความร้อนแก่ผงซัลไฟด์เจอร์เมเนียมในเตาเผาจนกลายเป็นไอ เมื่ออนุภาคอากาศถูกเป่าเข้าไปในส่วนระบายความร้อนของเตาเผา ก็จะเกิดการเซ็ทตัวลงบนชั้นแผ่นที่มีความหนาประมาณ 20-30 นาโนเมตรและมีความยาว 100 นาโนเมตร เมื่อมีการเพิ่มชั้นขึ้นมาเรื่อยๆ ก็จะเกิดเป็นโครงสร้างผลิบานออกจากกันเหมือนลักษณะกลีบดอกไม้

ทั้งนี้ GES นั้นมีราคาไม่แพงอีกทั้งไม่เป็นพิษ ทำให้สามารถเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับใช้ในเซลล์แสงอาทิตย์ได้ นอกจากนั้นยังเป็นวัสดุที่มีประสิทธิภาพสำหรับการดักจับแสงและแปลงเป็นพลังงาน GES ยังอาจสามารถขยายความจุของแบตเตอรี่ลิเธียม ไอออน และให้การจัดเก็บข้อมูลที่เพิ่มขึ้นสำหรับซุปเปอร์คาปาซิเตอร์อีกด้วย


นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 13
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -

Dynamic Luminous Ceiling Sky



"Dynamic Luminous Ceiling Sky" คือเพดานที่เป็นจอแอลซีดี โดยจำลองภาพท้องฟ้าเสมือนจริงที่จะเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ เหมาะสำหรับที่อยู่อาศัยทุกประเภท แนะนำให้ติดเพดานชนิดนี้ให้แก่พนักงานออฟฟิศ เพิ่มความรื่นรมย์ในการทำงาน และยังเป็นการหลอกพนักงานให้เข้าใจว่ายังเป็นตอนกลางวันอยู่อีกด้วยนะ ^^



นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 12
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -

Anti theft chair



"Anti theft chair" เป็นเก้าอี้ที่มีที่แขวนกระเป๋าได้ เพื่อความสะดวก และเพื่อความปลอดภัยจากพวกมือไวคว้ากระเป๋าของคุณติดมือไป ป้องกันขโมยได้ดีมากเลยล่ะ


นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 11
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -

Puri



Puri : นวัตกรรมขวดกรองน้ำทะเล

Younsun Kim, Kangkyung Lee, Byungsoo Kim และ Minji Kim สามนักออกแบบชาวเกาหลีได้ออกแบบขวดน้ำ ที่สามารถกรองน้ำทะเลให้เป็นน้ำดื่มได้ โดยขวดนั้นมีขนาดเหมือนขวดน้ำทั่วไป แต่ด้วยระบบนวัตกรรมภายในที่ใช้เทคโนโลยี รีเวอร์ส ออสโมซิส ในการดึงเกลืออกจากน้ำ ก่อนเข้าไปในตัวกรองของสีเหลือง เหลือเพียงน้ำที่ปลอดภัยสำหรับดื่ม และด้วยประสิทธิภาพการกรองน้ำทะเลนี้ ทำให้อุปกรณ์นั้นเหมาะสำหรับการกู้ภัยทางทะเล นักเดินทางไกล หรือชาวประมงที่ต้องออกเรือเพื่อการจับสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอุปกรณ์ที่สะดวกสำหรับการพกพา โดยการออกแบบนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานประกวดรางวัลไอเดียดีไซน์



นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 10
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -

จมูกนาโน

วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง จับมือมหาวิทยาลัยญี่ปุ่น ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนาโนพัฒนาจมูกจิ๋วตรวจวัดคุณภาพอากาศ เน้นประสิทธิภาพสูง ตรวจจับก๊าซเป้าหมายพบแม้ปนเปื้อนปริมาณเล็กน้อย หวังเป็นอุปกรณ์ทางเลือกในการบริหารจัดการสภาพอากาศในอนาคต



ดร.วินัดดา วงศ์วิริยะพันธ์ วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) อยู่ระหว่างวิจัยพัฒนา "ก๊าซเซ็นเซอร์" อุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพอากาศโดยประยุกต์ใช้คาร์บอนนาโนทิวบ์ เพื่อให้ได้อุปกรณ์ขนาดกะทัดรัด ประสิทธิภาพสูง มีความไวต่อก๊าซแม้มีปริมาณน้อย รวมถึงตอบสนองต่อก๊าซอย่างรวดเร็วในอุณหภูมิห้อง สำหรับเป็นผู้ช่วยเฝ้าระวังมลภาวะทางอากาศในอนาคต

โครงการวิจัยพัฒนาก๊าซเซ็นเซอร์คาร์บอนนาโนทิวบ์ผนังเดี่ยว เริ่มขึ้นเมื่อปี 2548 จนถึงปัจจุบัน เป็นการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซากา กับบริษัท ชิน คอส มอส จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเทคโนโลยีก๊าซเซ็นเซอร์ในญี่ปุ่น ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นผ่านมหาวิทยาลัยโอซากา

ทีมวิจัยได้ผสมผสานนาโนเทคโนโลยีกับเทคโนโลยีก๊าซเซ็นเซอร์ในปัจจุบัน เริ่มจากการสังเคราะห์คาร์บอนนาโนทิวบ์ ให้มีลักษณะการเรียงตัวลักษณะแนวนอน และความหนาแน่นตามที่ต้องการใช้งาน ลงบนแผ่นอะลูมินา ซึ่งใช้สำหรับก๊าซเซ็นเซอร์ทั่วไป คาร์บอนนาโนทิวบ์จะเพิ่มคุณสมบัติให้เซ็นเซอร์มีพื้นที่ผิวสัมผัสก๊าซมากขึ้น



จมูกจิ๋วตรวจอากาศดังกล่าว ทำงานโดยการตรวจจับก๊าซ และแปลงเป็นค่านำไฟฟ้าแสดงผลบนหน้าจอ บอกให้ผู้ดูแลระบบทราบถึงสภาพอากาศในพื้นที่เป้าหมายการตรวจ เช่น ฟาร์มปศุสัตว์ แยกไฟแดง โรงงานสารเคมี ว่ามีก๊าซไม่พึงประสงค์ เช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์ คลอรีน โอโซน ปนเปื้อนในอากาศเกินปริมาณที่กำหนดไว้หรือไม่ หรือเพื่อประโยชน์ในการดูแลบริหารจัดการมลภาวะทางอากาศที่เหมาะสม

ก๊าซเซ็นเซอร์หรือจมูกจิ๋วดูแลมลภาวะทางอากาศที่พัฒนาได้ จากการทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้นพบ สามารถตรวจวัดก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ได้จริงใกล้เคียงอุปกรณ์วัดมาตรฐานที่ใช้งานอยู่ ทั้งยังแจ้งเตือนเป็นสัญญาณเสียงได้ด้วย โดยสามารถตรวจวัดที่ระดับพีพีบี หรือ 1 ในพันล้านส่วน ในเวลาไม่ถึง 1 นาที ทั้งนี้ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์เป็นก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่เกิดในโรงงานอุตสาหกรรม หรือท่อไอเสียรถยนต์ แม้กระทั่งการปรุงอาหารในครัว หากมีปริมาณมากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยย้ำว่าการพัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจวัดก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ที่มีความแม่นยำ จำเป็นต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบและวิจัย เพื่อให้ผลการตรวจวัดมีความแม่นยำ 100% แต่อุปสรรคที่พบในการวิจัย คือ ขาดเครื่องมือวิเคราะห์อุปกรณ์ที่พัฒนา ว่า คุณภาพเพียงพอที่จะนำไปใช้งานหรือไม่

ทีมงานจึงแก้ปัญหาโดยการพึ่งพาศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ สังกัดศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) ตลอดจนส่งไปวิเคราะห์ที่ญี่ปุ่นโดยตรง ทำให้ต้องใช้เวลารอผลนาน

"สิ่งที่ต้องเก็บข้อมูลเพิ่มอีกอย่าง คือ อายุการใช้งานของอุปกรณ์ว่าอยู่ได้นานแค่ไหน ก็ได้เก็บข้อมูลมาแล้วกว่าครึ่งปี พบยังอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน" นักวิจัยกล่าว


ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/general_knowledge/460/ ค่ะ :)



นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 9
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -

ตุ๊กตาฟอกอากาศ


นอกจากคุณสมบัติประดับตกแต่ง กอดเล่นมันมือแล้ว เจ้าตุ๊กตายังช่วยฟอกอากาศและลดฝุ่นละอองอีกด้วย เหมาะต่อผู้ที่เป็นภูมิแพ้ (แบบเจ้าของกระทู้) หรือเจ้าตัวเล็กในบ้านด้วยน๊าา โดยกลไกการทำงานของมันก็คือ เมื่อมีแสงมากระตุ้น อนุภาคไทเทเนียมไดออกไซด์ที่อยู่บนวัตถุก็จะทำลายสารระเหยที่เป็นพิษให้แตกตัวเป็นคาร์บอนไดออกไซด์หรือสารอื่นที่มีอันตรายน้อยกว่าได้ กลิ่นไม่พึงประสงค์บางกลิ่นก็จะหมดไป หรือทำให้ฝุ่นละอองมีขนาดเล็กลงจนไม่เป็นอันตราย ดีต่อสุขภาพมากๆ เลยล่ะ


นวัตกรรมประจำสัปดาห์ที่ 8
รายวิชา 241208 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
สืบค้นโดย นางสาวณัฐฐาพร บาอุ้ย (563050087-4)
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 2
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น -